ปฏิทินกิจกรรม
« กันยายน2567 »
อา พฤ
1 2 3 4 5 6 7
8 9 10 11 12 13 14
15 16 17 18 19 20 21
22 23 24 25 26 27 28
29 30          

  รับข่าวสาร
อีเมล์ของคุณ :
 สมัคร    ยกเลิก

  สถิติของเว็บไซต์

  สังคมออนไลน์
  

การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน

 การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน (Ratios Analysis) 

 

                ในการวิเคราะห์งบการเงินเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน    ผู้วิเคราะห์อาจจะใช้การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน (Ratios Analysis) เข้ามาช่วยโดยการนำรายการต่างๆ มาเทียบอัตราส่วนเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างทรัพย์สิน   หนี้สิน   ทุน   รายได้   และค่าใช้จ่ายต่างๆ ว่าเหมาะสมหรือไม่    การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินนี้แบ่งตามจุดมุ่งหมายในการใช้ได้เป็น 4 ลักษณะด้วยกัน   คือ
1. การวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงิน
2. การวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
3. การวิเคราะห์ความสามารถในการหากำไรของเงินทุน
4. การวิเคราะห์นโยบายทางการเงินของบริษัท
 

 

ตารางแสดงอัตราส่วนและความหมายของการวิเคราะห์

 

อัตราส่วน
ความหมายของการวิเคราะห์
อัตราส่วนวิเคราะห์
สภาพคล่องทางการเงิน
— อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน
     (Current Ratio)
 
สินทรัพย์หมุนเวียน
หนี้สินหมุนเวียน
เป็นอัตราส่วนใช้วัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น
 
อัตราส่วนนี้เป็นเครื่องชี้ฐานะทางการเงินระยะสั้นของธุรกิจ    ถ้าอัตราส่วนนี้มีค่ายิ่งสูงยิ่งแสดงว่าบริษัทมีความคล่องตัวมาก   
เจ้าหนี้ระยะสั้นจะให้ความสำคัญต่ออัตราส่วนนี้มาก   เนื่องจากแสดงโอกาสที่จะได้รับชำระหนี้ว่ามีอยู่มาก   หรือน้อยตามค่าอัตราส่วน   โดยทั่วไป   ธุรกิจที่มีอัตราส่วนเงินทุนเวียนเท่ากับ 2:1 ถือว่าเหมาะสมแล้ว    แต่ในการที่จะตัดสินใจก็ควรจะต้องพิจารณาถึงปัจจัยอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น ลักษณะและประเภทของธุรกิจ   ค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมประเภทเดียวกัน   เป็นต้น
 
— อัตราส่วนสินทรัพย์คล่องตัว
     (Quick Ratio)
 
สินทรัพย์หมุนเวียน-สินค้าคงเหลือ
หนี้สินหมุนเวียน
อัตราส่วนนี้ใช้สำหรับวัดความสามารถของธุรกิจในการชำระหนี้สินหมุนเวียนจากสินทรัพย์หมุนเวียนที่หักสินค้าคงเหลือออก    ทั้งนี้   เพื่อพยายามตัดสิ่งซึ่งจะเป็นปัญหาในการเปลี่ยนแปลงเงินสดออก (สินค้าคงเหลือ) อัตราส่วนนี้ค่ายิ่งมาก   ก็แสดงว่าธุรกิจนี้สภาพคล่องสูงโดยปกติอัตราส่วน 1:1 ก็ถือว่าเหมาะสมแล้ว
 
อัตราส่วน

 ความหมายของการวิเคราะห์  

— อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้
     (Receivable Turnover)
 
ขายเชื่อสุทธิ
ลูกหนี้เฉลี่ย
อัตราส่วนนี้แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างยอดขายเชื่อสุทธิกับยอดลูกหนี้เฉลี่ย    ถ้าอัตราการหมุนเวียนอยู่ในอัตราสูงแสดงว่าธุรกิจมีความสามารถในการบริหารลูกหนี้และสามารถเปลี่ยนลูกหนี้เป็นเงินสดได้เร็ว
 
 
— ระยะเวลาถัวเฉลี่ยการเก็บหนี้
     (Average Collection Period)
 
365
อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้
อัตราส่วนนี้แสดงถึงระยะเวลาการเรียกเก็บเงินว่ายาวนานแค่ไหน    ผู้วิเคราะห์สามารถนำมาเปรียบเทียบกับเงื่อนไขการชำระเงิน (Term of sale) ของธุรกิจ ซึ่งจะทำให้เห็นถึงความสามารถในการเรียกเก็บหนี้ว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่
 
 
— อัตราการหมุนเวียนของสินค้า
     (Inventory Turnover)
 
ต้นทุนสินค้าขาย
สินค้าคงเหลือเฉลี่ย
อัตราส่วนนี้ใช้วัดอัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือเพื่อให้ทราบถึงความคล่องตัวของสินค้าว่าสามารถจำหน่ายสินค้าได้เร็วเพียงใด    ถ้าอัตราส่วนนี้มีค่ายิ่งสูงยิ่งแสดงว่าสินค้าของบริษัทสามารถขายได้เร็ว    แสดงถึงประสิทธิภาพในการบริหารงานขายของบริษัท
 
อัตราส่วนวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
— กำไรจากการดำเนินงานก่อนหักดอกเบี้ยจ่าย    ภาษีเงินได้    ค่าเสื่อมราคา   และค่าใช้จ่ายล่วงหน้าตัดบัญชี (Earnings Before Interest, Taxation, Depreciation and Amortization : EBITDA)
 
 
อัตราส่วนนี้สะท้อนกำไรที่มาจากการดำเนินงาน   ที่ยังไม่นำต้นทุนทางการเงินเข้ามาพิจารณา เช่น ภาระดอกเบี้ยจ่ายจากการก่อหนี้เพื่อมาดำเนินงานและไม่นับรวมค่าใช้จ่ายทางบัญชีซึ่งยังมิได้จ่ายจริง อาทิ   ค่าเสื่อมราคาและค่าใช้จ่ายตัดบัญชีต่างๆ EBITDA จึงยังไม่รวมกำไร (ขาดทุน) จากอัตราแลกเปลี่ยน   ภาระภาษี ฯลฯ ทั้งนี้ EBITDA สามารถนำไปประยุกต์ในการวิเคราะห์ทางการเงินได้ในหลายแง่มุม เช่น Discounted Cash Flow หรือการประเมินมูลค่าบริษัทในอนาคต   ซึ่งควรใช้พิจารณาร่วมกับอัตราส่วนอื่นๆ   เพื่อให้การวิเคราะห์งบการเงินสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
 

 
 
 

อัตราส่วน

 ความหมายของการวิเคราะห์  

— ความสามารถหากำไร   หรือกำไรจากการดำเนินงานต่อสินทรัพย์ทั้งหมด (Earning Power)
 
กำไรจากการดำเนินงาน
สินทรัพย์ทั้งหมดเฉลี่ย
อัตราส่วนนี้ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อหาผลตอบแทนที่ได้จากสินทรัพย์ทั้งหมดของบริษัท   โดยการพิจารณากำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี (กำไรจากการดำเนินงาน) เทียบกับการใช้สินทรัพย์ทั้งหมดของบริษัท
 
 
 
— อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์ดำเนินงาน
     (Operating Asset Turnover)
 
ขายสุทธิ
สินทรัพย์ทั้งหมดเฉลี่ย
อัตราส่วนนี้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทสามารถก่อให้เกิดยอดขายเทียบกับสินทรัพย์ทั้งหมด
 
 
 
 
— อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อยอดขาย (Operating Income Margin)
 
กำไรจากการดำเนินงาน
ขายสุทธิ
อัตราส่วนนี้เป็นการวัดความสามารถในการจัดการแสดงให้เห็นถึงรายได้จากการขายคงเหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นแล้ว
กรณีที่อัตราส่วนนี้ลดลง   อาจจะมีสาเหตุมาจากกำไรขั้นต้นต่ำไป   เนื่องจากต้นทุนสินค้าสูงหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ สูงขึ้น   ไม่สัมพันธ์กับยอดขาย    ซึ่งจะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขและควบคุมอย่างเข้มงวด   ปัจจัยต่างๆ   ดังกล่าวอาจเนื่องมาจากความต้องการของตลาดลดลงหรือภาวะการแข่งขันสูง    หรือต้นทุนต่อหน่วยเพิ่มขึ้นเนื่องจากประสิทธิภาพในการผลิตต่ำลงเป็นต้น
 
อัตราส่วนวิเคราะห์ความสามารถในการหากำไร
— ผลตอบแทนจากสินทรัพย์ทั้งหมด
     (Return on Asset)
 
กำไรสุทธิ
สินทรัพย์ทั้งหมด
 
 
 
 
เป็นอัตราส่วนที่วัดความสามารถในการทำกำไรของเงินลงทุนที่มาจากสองส่วนด้วยกัน คือ หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
 
 
 
 
อัตราส่วน

 ความหมายของการวิเคราะห์  

— ผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้น
     (Return on Equity)
 
กำไรสุทธิ
ส่วนของผู้ถือหุ้น
อัตราส่วนนี้ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อวัดผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น    หรือเงินทุนที่จะสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการบริหารงานเพื่อให้เกิดผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าของกิจการ
 
 
อัตราส่วนวิเคราะห์นโยบายทางการเงิน
— อัตราส่วนของหนี้สินต่อทรัพย์สินรวม
     (Debt Ratio)
 
หนี้สินรวม
สินทรัพย์รวม
 
อัตราส่วนนี้แสดงสัดส่วนของหนี้สินรวมของบริษัทเมื่อเทียบกับสินทรัพย์ที่มีอยู่ทั้งหมด    ซึ่งใช้วัดว่าสินทรัพย์ของบริษัทสนับสนุนเงินทุนจากเงินกู้ยืมจากภายนอกเป็นสัดส่วนเท่าใด    นอกจากนั้น   ยังแสดงถึงความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัท    ถ้าอัตราส่วนนี้สูง   แสดงว่าบริษัทมีภาระหนี้สินสูง   การบริหารกิจการมีความเสี่ยงสูง    โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหนี้สินส่วนใหญ่เป็นหนี้สินระยะสั้นและกิจการมีกระแสเงินสดหมุนเวียนจากการขายต่ำ    ซึ่งแม้ว่าจะมีความเสียงสูงแต่ก็แสดงถึงความสามารถในการใช้สินทรัพย์สูงหากกิจการสามารถดำเนินการได้มีกำไร
 
— อัตราส่วนของหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Debt to Equity Ratio)
 
หนี้สินรวม
ส่วนของผู้ถือหุ้น
 
 
 
อัตราส่วนนี้แสดงโครงสร้างของเงินทุน (Capital Structure) ของบริษัทว่ามีสัดส่วนของหนี้สินรวมของบริษัทเมื่อเทียบกับส่วนของทุนหรือส่วนของเจ้าของเป็นเท่าใด    เป็นการวัดว่าธุรกิจใช้เงินทุนจากภายนอก (จากการกู้ยืม) เมื่อเทียบกับทุนภายในของธุรกิจเองว่ามีสัดส่วนเท่าใด    ซึ่งหนี้สินเป็นแหล่งเงินทุนที่บริษัทมีภาระดอกเบี้ยจ่าย    ไม่ว่าผลการดำเนินงานของบริษัทจะเป็นอย่างไร    ถ้าอัตราส่วนหนี้สูงก็แสดงว่าบริษัทก็มีความเสี่ยงสูงด้วยเช่นเดียวกัน     เพราะเงินกู้เป็นแหล่งเงินทุนที่มีภาระดอกเบี้ยจ่าย
 
 
 
 
 
 
อัตราส่วน

 ความหมายของการวิเคราะห์  

— ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย
     (Interest Coverage)
 
กำไรจากการดำเนินงาน หรือ
ดอกเบี้ยจ่าย
 
กำไรสุทธิ+ภาษีเงินได้+ดอกเบี้ยจ่าย
ดอกเบี้ยจ่าย
อัตราส่วนนี้แสดงถึงความสามารถในการชำระดอกเบี้ยเงินกู้ของธุรกิจ    โดยวิเคราะห์เพื่อหากำไรจากการดำเนินงาน
 
(กำไรสุทธิ+ภาษีเงินได้+ดอกเบี้ยจ่าย) ต่อดอกเบี้ยจ่ายอัตราส่วนนี้ยิ่งสูงก็ยิ่งเพิ่มความมั่นใจแก่เจ้าหนี้ในการที่จะได้รับ
ชำระดอกเบี้ย    การที่อัตราส่วนนี้ลดลงอาจจะเนื่องมาจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งหรือหลายสาเหตุ  เช่น ดอกเบี้ยจ่ายสูงเกินไปหรือเงินกู้เพิ่มขึ้น หรือ กำไรลดลง
 
— อัตราการจ่ายปันผล (Dividend Payout)
 
เงินปันผล
กำไรสุทธิ
อัตราส่วนนี้ใช้ในการพิจารณาว่าธุรกิจมีนโยบายในการจ่ายเงินปันผลอย่างไร    ถ้าอัตราส่วนนี้สูงก็แสดงให้เห็นว่ากำไรส่วนใหญ่ของธุรกิจใช้ไปเพื่อตอบแทนผู้ลงทุนหรือเจ้าของกิจการโดยการจ่ายเงินปันผลและคงเหลือกำไรเพียงบางส่วนไว้เพื่อการขยายกิจการของธุรกิจ
 

               
.................................................................................ได้รับการเอื้อเฟื้อข้อมูลจาก คุณธนกร พรหมไตรรัตน์
กรรมการผู้จัดการ บริษัท วี เอ ที ทนายความและการบัญชี
............................ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง............................................

 


POWERED BY CHAIYO READY WEB
LEADER IN READY TEMPLATE SERVICE